เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 58 กรมควบคุมโรค ระบุ ตั้งแต่ต้นปี 58 จนถึงปัจจุบัน
พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 76,857 ราย เสียชีวิต 88 ราย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา
มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 5,226 ราย และเสียชีวิต 11 ราย คาดว่า
ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้น
เพราะเป็นฤดูกาลระบาดของโรค
ซึ่งทั่วโลกยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึง มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก กับทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะระบาด ปีเว้นปี หรือ เว้นสองปี ขณะนี้พื้นที่ที่มีการระบาด คือ บริเวณภาคกลางและอีสานตอนล่าง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ มาตรการที่ใช้ดำเนินการมีตั้งแต่ก่อนจะเข้าฤดูระบาย มีการตรวจสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมและให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน โดยร่วมมือกับหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมดำเนินการทำ MOU กับอีก 8 หน่วยงาน ในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ยังมีการระบาดอยู่ โดยเฉพาะในปีนี้มีฝน ตกๆ หยุดๆ จึงเอื้อต่อการแพร่ของโรค อย่างที่ทราบว่า ไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจัดเป็นยุงบ้าน พบทั่วไปบริเวณบ้านและชุมชน ฉะนั้น วิธีการป้องกันมาตรการแรก คือ อย่าถูกยุงกัดโดยเฉพาะยุงลาย ทั้งนี้ร้อยละ 30 พบว่า บ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญมากที่สุด รองมาคือ ชุมชน รวมไปถึงวัดและโรงเรียน
มาตรการที่สอง คือ ส่งเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของกระทรวงมหาดไทย ลงไปพ่นยาเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด
มาตรการที่สาม คือ ในช่วงฤดูระบาด จำเป็นต้องระดมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยจะรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ และระดมทรัพยากรในการจัดการแก้ไขปัญหา มาตรการสี่ คือ การรักษา เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือกออกโดยตรง ฉะนั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องทำแบบประคับประคอง เพื่อให้พ้นระยะช็อกหรือเลือดออก จากนั้นผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญพอสมควร จึงมีการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัด
สิ่งที่ความสำคัญของการควบคุมไข้เลือดออกอยู่ที่ ประชาชน โดยการช่วยกันสำรวจบ้านหรือรอบบ้าน ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ จุกแน่นท้อง อาเจียน ซึ่งอาการแบบนี้จะแยกจากโรคอื่นๆ ค่อนข้างยาก หากไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง เนื่องจากอาการจะแสดงชัดเจนในวันที่ 3 หรือวันที่ 4 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
เครดิต:http://www.thairath.co.th/content/529754
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึง มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก กับทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะระบาด ปีเว้นปี หรือ เว้นสองปี ขณะนี้พื้นที่ที่มีการระบาด คือ บริเวณภาคกลางและอีสานตอนล่าง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ มาตรการที่ใช้ดำเนินการมีตั้งแต่ก่อนจะเข้าฤดูระบาย มีการตรวจสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมและให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน โดยร่วมมือกับหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมดำเนินการทำ MOU กับอีก 8 หน่วยงาน ในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ยังมีการระบาดอยู่ โดยเฉพาะในปีนี้มีฝน ตกๆ หยุดๆ จึงเอื้อต่อการแพร่ของโรค อย่างที่ทราบว่า ไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจัดเป็นยุงบ้าน พบทั่วไปบริเวณบ้านและชุมชน ฉะนั้น วิธีการป้องกันมาตรการแรก คือ อย่าถูกยุงกัดโดยเฉพาะยุงลาย ทั้งนี้ร้อยละ 30 พบว่า บ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญมากที่สุด รองมาคือ ชุมชน รวมไปถึงวัดและโรงเรียน
มาตรการที่สอง คือ ส่งเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของกระทรวงมหาดไทย ลงไปพ่นยาเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด
มาตรการที่สาม คือ ในช่วงฤดูระบาด จำเป็นต้องระดมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยจะรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ และระดมทรัพยากรในการจัดการแก้ไขปัญหา มาตรการสี่ คือ การรักษา เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือกออกโดยตรง ฉะนั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องทำแบบประคับประคอง เพื่อให้พ้นระยะช็อกหรือเลือดออก จากนั้นผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญพอสมควร จึงมีการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัด
สิ่งที่ความสำคัญของการควบคุมไข้เลือดออกอยู่ที่ ประชาชน โดยการช่วยกันสำรวจบ้านหรือรอบบ้าน ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ จุกแน่นท้อง อาเจียน ซึ่งอาการแบบนี้จะแยกจากโรคอื่นๆ ค่อนข้างยาก หากไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง เนื่องจากอาการจะแสดงชัดเจนในวันที่ 3 หรือวันที่ 4 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
เครดิต:http://www.thairath.co.th/content/529754
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น