มุ่งมั่นให้บริการ ผสานการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นคนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสู่ความเป็นมาตรฐานศุนย์สุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน
ส่งอีเมลข้อมูลนี้

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เช็กบ้าน...สำรวจ"ยุงลาย" เฝ้าระวังมัจจุราชดูดเลือด

เช็กบ้าน...สำรวจ"ยุงลาย" เฝ้าระวังมัจจุราชดูดเลือด | เดลินิวส์
„Healthy Clean เช็กบ้าน...สำรวจ"ยุงลาย" เฝ้าระวังมัจจุราชดูดเลือด จริงๆ หลายคนก็รู้อยู่แล้วว่า “โรคไข้เลือดดออก” จะระบาดช่วงหน้าฝน และมี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค หน่วยงานด้านสาธารณสุข ก็ออกมาเตือนกันทุกๆ ปี เพื่อแนะวิธีจำกัดและป้องกันโรคที่ดีที่สุด วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 10:00 น. ได้เตือนไปก่อนหน้าว่า อย่าลุยย่ำน้ำท่วม เพราะมีเชื้อ “โรคไข้ฉี่หนู” ที่จะชอนไชเข้าสู่ร่างกายได้แบบไม่รู้ตัว ครานี้จึงมาเสิร์ฟสาระดีๆ กันอย่างต่อเนื่อง โดยจะขอว่าด้วยเรื่อง “โรคไข้เลือดออก” อันเกิดจากน้ำที่ขังในภาชนะต่างๆ เพราะมันเป็นแหล่งขยายพันธุ์ชั้นเยี่ยมของ “ยุงลาย” นั่นเอง จริงๆ หลายคนก็รู้อยู่แล้วว่า “โรคไข้เลือดดออก” จะระบาดช่วงหน้าฝน และมี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค หน่วยงานด้านสาธารณสุข ก็ออกมาเตือนกันทุกๆ ปี เพื่อแนะวิธีจำกัดและป้องกันโรคที่ดีที่สุด “นพ.โสภณ เมฆธน” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า โรคไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่ต้องระวังต่อเนื่อง จนถึงช่วงปลายฝนต้นหนาว พบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะในเด็ก ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก โรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด ซึ่งหากเป็นจะรักษายุ่งยากมากยิ่งขึ้น “ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า หากมีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึม อาจมีเลือดกำเดา มีจุดแดงใต้ผิวหนังหลังป่วยในวันที่ 2-3 รีบไปพบแพทย์ อย่าซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาแก้ปวดลดไข้ จะระคายกระเพาะอาหาร เสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร อันตรายถึงเสียชีวิต” ข้อมูลจาก “สำนักระบาดวิทยา” ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค-28 ก.ย.58 พบผู้ป่วย 80,951 ราย เสียชีวิต 82 ราย อายุที่พบมากที่สุดคือ 15-24 ปี รองลงมาคืออายุ 10-14 ปี และอายุ 25-34 ปี ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ระยอง เพชรบุรี ราชบุรี ตราด และอุทัยธานี ต้องบอกว่าที่ “สาธารณสุข” พยายามออกมาเตือน ก็เพราะด้วยเหตุที่ว่า “ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ของปีนี้ เพียงแค่ 8 เดือน พบผู้ป่วยและเสียชีวิตมากกว่าปี 2557 ตลอดทั้งปี ซึ่งในปี 57 พบผู้ป่วย 40,278 ราย และเสียชีวิต 41 ราย “พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน และเมื่อยุงลายกินเลือดแล้ว จะไปเกาะตามมุมอับ เช่นห้องน้ำ มุมห้องนอนที่มีเสื้อผ้าแขวนอยู่ หากจะกำจัดยุงลายตัวแก่ ต้องฉีดสเปรย์ หรือใช้ไม้ไฟฟ้าช็อตยุง” สำหรับการป้องกัน “โรคไข้เลือดออก” คือ ควรขัดล้างไข่ยุงออกจากผนังและปิดน้ำภาชนะใส่น้ำ...ให้มิดชิด ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีและยั่งยืนที่สุด เพราะยุงลายใช้เวลาวางไข่ จนกลายเป็นยุง ใช้เวลาเพียง 5-7 วันเท่านั้นเก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะ ทำ 5 ส. ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยิ่ง “โรคไข้เลือดออก” ยังไม่มีวัคซีน และยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ต้องรักษาตามการวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานกำจัดเชื้อโรคออกไป ยิ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ต้องพิจารณาให้น้ำเกลืออย่างเหมาะสม “หากป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก หลังการดูแลรักษาแล้ว 3-4 วัน อาการไม่ดีขึ้น โดยมีอาการซึม เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น กระหายน้ำ ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด แสดงว่าช็อก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด” อีกประการหนึ่งที่สำคัญ และอาจจะละเลยกันคือ ผู้ป่วยต้องป้องกันไม่ให้โรคไปติดต่อคนรอบข้าง ด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ทั้งขณะพักฟื้นที่บ้านหรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล เห็นตัวเลขสถิติกันแบบนี้แล้ว ก็คงต้องเน้นย้ำเลยว่า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นได้ทั้งนั้น หากคนข้างๆ คุณ...มีอาการตามข้อสงสัยที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แต่ทุกวันนี้อะไรก็ไม่น่ากลัวเท่ากับ รู้ทั้งรู้ว่าเสี่ยงเป็น “โรคไข้เลือดออก” แต่ก็ยังจะไปหาซื้อยาลดไข้ ตามร้านยามาทานเอง ระวังเถอะครับ!!! “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ชีวิตทั้งชีวิตคงไม่มีใครอยากจะสูญเสีย... ….........................“

เครดิต : www.dailynews.co.th/article/354780 ,ทวีลาภ บวกทอง
 

http://www.dailynews.co.th/article/354780

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น