มุ่งมั่นให้บริการ ผสานการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นคนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสู่ความเป็นมาตรฐานศุนย์สุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน
ส่งอีเมลข้อมูลนี้

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)

โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)
              เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides แบ่งออกเป็น 13 ซีโรกรุ๊ป คือ A, B, C, D, H, I, K, L, X, Y, Z, 29E และ W135 ที่พบบ่อยๆ คือ ซีโรกรุ๊ป A, B, C, Y และ W135
              วิธีการแพร่โรค : เชื้อนี้ติดต่อจากคนไปสู่คน โดยเชื้อจะออกมาทางละอองน้ำมูก น้ำลาย (droplet) จากปากหรือจมูกของผู้ที่เป็นพาหะ (ผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ) หรือผู้ป่วย โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 2-10 วัน (เฉลี่ย 3-4 วัน)
              อาการและการแสดง : ผู้ป่วยจะมีไข้สูงทันที ปวดศีรษะมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ คอแข็ง ปวดเมื่อยกล้มเนื้อ ปวดข้อ มักมีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนัง (petechial rash) ร่วมกับจ้ำเลือดขึ้นตามตัว แขนขา อาจมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ป่วยจะซึม ชัก และช็อก เสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการ การยืนยันการวินิจฉัยโรค ทำได้โดยการเจาะน้ำไขสันหลังส่งตรวจหาเชื้อ miningococci
วิธีการควบคุมป้องกันโรค
  1. ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคแก่ประชาชน โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากปากหรือจมูกของผู้ป่วย ไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้มีโอกาสรับเชื้อจากผู้ที่เป็นพาหะได้ง่าย ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำงานหักโหมจนพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานลดลง
  2. พิจารณาการใช้วัคซีนป้องกันโรค วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ สามารถป้องกันการติดเชื้อ Serogroups A, C, Y และ W135 ทั้งผู้ใหญ่และเด็กโต ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ซีโรกรุ๊ป B (อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา) ไม่แนะนำให้แก่ประชาชนทั่วไป
  3. สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่จะเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ และจะอยู่ใน พื้นที่นั้นเป็นเวลานาน การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้
  4. การป้องกันสำหรับผู้สัมผัสโรค รีบให้ยาฆ่าเชื้อแก่ผู้สัมผัสที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทันทีโดยเลือกใช้ยาที่ไวต่อเชื้อ เช่น rifampicin
  5. การรักษา ยา penicillin และ chloramphenical มีประสิทธิผลดีต่อการรักษาโรคนี้ได้
    • มาตรการเมื่อเกิดการระบาด
      • ต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด วินิจฉัยโรคและให้การรักษาแก่ผู้ป่วยทันที
      • ลดความแออัดหนาแน่นของผู้ที่ต้องอยู่ร่วมกัน จัดที่อยู่และห้องนอนให้มีการระบายอากาศได้ดี
      • ใช้ยา rifampicin แก่ผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อลดจำนวนผู้เป็นพาหะ และกำจัดการแพร่โรค
      • การใช้วัคซีนป้องกันโรคในประชาชนทุกกลุ่มอายุ ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
      • ให้คำแนะนำการป้องกันสำหรับประชาชน ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลายจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย ไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้มีโอกาสรับเชื้อจากผู้เป็นพาหะได้ง่าย และควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการทำงานหักโหมทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานลดลง

เครดิตข้อมูลจาก >> สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ และ https://m.youtube.com/watch?v=nj14Bpu8bt8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น